เลือก เครื่องวัดความดันโลหิต ให้เหมาะสม
เพื่อสุขภาพที่ดี ทุกที่ ทุกเวลา
ฟิกเซอร์ เครื่องวัดความดันโลหิต
รายงานค่าความดันตามองค์การอนามัยโลก (WHO)
“เป็นเสียงพูดภาษาไทย”
“วีดีโอแนะนำการใช้งาน
เครื่องวัดความดันฟิกเซอร์”
“ด้วยประชากรไทย มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นทุกปีและความต้องการในการใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต มีเพิ่มมากขึ้น”
ดังนั้น หากคุณมีผู้ช่วยในการดูแลสุขภาพของคุณได้อย่างใกล้ชิด อย่าง เครื่องวัดความดันโลหิต อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็น โรคความดันโลหิตสูง หรือ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อ โรคความดันสูง จะช่วยให้การวัดความดันของคุณเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ทันใจ ในทุกที่ทุกเวลา ทั้งยังสามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะใช้ที่บ้าน หรือ พกพาเคลื่อนที่ พร้อมคุณสมบัติที่ทันสมัย ... ซึ่งเราได้เรียบเรียงข้อมูล เครื่องวัดความดัน แบรนด์ดังต่างๆ มาให้คุณได้ตัดสินใจในการเลือกซื้อแล้ว ดังนี้........."
วีดีโอแนะนำการใช้งาน เครื่องวัดความดันโลหิตฟิกเซอร์
“พูดภาษาไทยได้”
“ด้วยประชากรไทย มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นทุกปีและความต้องการในการใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต มีเพิ่มมากขึ้น”
ดังนั้น หากคุณมีผู้ช่วยในการดูแลสุขภาพของคุณได้อย่างใกล้ชิด อย่าง เครื่องวัดความดันโลหิต อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็น โรคความดันโลหิตสูง หรือ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อ โรคความดันสูง จะช่วยให้การวัดความดันของคุณเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ทันใจ ในทุกที่ทุกเวลา ทั้งยังสามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะใช้ที่บ้าน หรือ พกพาเคลื่อนที่ พร้อมคุณสมบัติที่ทันสมัย … ซึ่งเราได้เรียบเรียงข้อมูล เครื่องวัดความดัน แบรนด์ดังต่างๆ มาให้คุณได้ตัดสินใจในการเลือกซื้อแล้ว ดังนี้………”
ฟิกเซอร์ เครื่องวัดความดันโลหิต
รายงานค่าความดันตามองค์การอนามัยโลก (WHO)
“เป็นเสียงพูดภาษาไทย”
พร้อม 9 ฟังก์ชั่นเด่น
ที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ตัดปัญหาความกังวลในการอ่านค่าแถบความดันด้วยตนเองด้วยเสียง “พูดภาษาไทย” พร้อมเสียงดนตรีขณะรอฟังผล
2. ได้รับเครื่องหมาย CE0123 และ ISO13485 การันตีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล
3. มีระบบตรวจเช็คหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยการแสดงผลหน้าจอเป็นสัญลักษณ์รูปหัวใจ เมื่อพบว่าหัวใจมีอัตราการเต้นผิดจังหวะ
4. บันทึกค่าผู้ใช้งานได้ 2 คน คนละ 120 ค่า พร้อมเรียกดูหน่วยความจำย้อนหลังได้
5. บอกค่าเฉลี่ยที่วัดได้ 3 ครั้งล่าสุดที่วัดได้
6. บอกตำแหน่งผ้าพันแขนที่ถูกต้อง เพื่อความแม่นยำและถูกต้องในการวัดค่าความดันโลหิต
7. หน้าจอ LCD ใหญ่ คมชัด ขนาด กว้าง 2.52 นิ้ว * สูง 3.74 นิ้ว
8. ผ้าพันแขนขนาด 22-40 เซนติเมตร ใช้ได้ทั้งแขนเด็กและแขนผู้ใหญ่
9. แบตเตอรี่ใช้ได้ทั้งถ่านและอะแดปเตอร์ ถ่านขนาด AAA / 4 ก้อน และสายอะแด็ปเตอร์ USB (ใช้ร่วมกับสายชาร์จโทรศัพท์ได้)
เครื่องวัดความดันโลหิต
รุ่น HEM-7130 มีดีอะไร?
√ เครื่องวัดความดันโลหิตomron รุ่น HEM-7130 ใช้วัดความดันโลหิตสูง ได้อัตโนมัติ ใช้งานง่าย
√ มีสัญลักษณ์แสดงให้ผู้ใช้ทราบ เมื่อมีการใช้ผ้าพันแขนถูกต้อง
√ มีสัญลักษณ์แสดงการเคลื่อนไหวขณะวัดความดัน
√ มีสัญลักษณ์แสดงการเต้นของหัวใจเมื่อผิดปกติ
√ มีค่าเฉลี่ย 3 ครั้งที่วัดได้ ภายใน 10 นาที
√ มีหน่วยความจำ 60 หน่วยความจำ พร้อมวันและเวลาบอกปรากฏยังหน้าจอ
√ มีคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้งาน
เพื่อความปลอดภัยต่อคุณ และ คนที่คุณรัก
√ มีแถบบอกค่าระดับความดันโลหิต
√ หน้าจอใหญ่ คมชัด
√ เครื่องเล็ก กะทัดรัด ใช้งานได้ทั้งในบ้านและพกพาเคลื่อนที่
ข้อมูลเชิงเทคนิค
เครื่องวัดความดันโลหิตomron รุ่น HEM-7130
√ จอแสดงผล: จอดิจิตอล LCD คมชัด
√ วิธีการวัดความดัน: วิธี Oscillometric
√ ช่วงที่วัดได้: 0-299 มม. ปรอท, ชีพจร 40-180 ครั้ง/นาที
√ ความแม่นยำ: ความดัน 3 มม. ปรอท, ชีพจร ± 5% ของค่าที่วัดได้
√ หน่วยความจำ: 60 ค่า พร้อมวันที่และเวลา
√ พลังงานไฟฟ้า: DC6V 4 W, ถ่าน AA 1.5 V 4 ก้อน หรือที่ชาร์จไฟ AC Adapter
√ อายุการใช้งานของถ่าน: ใช้วัดผลได้ประมาณ 1,000 ครั้ง
√ น้ำหนักเครื่อง: 280 กรัม (ไม่รวมถ่าน)
√ น้ำหนักผ้าพันแขน: 130 กรัม
√ ขนาด: 107x79x141 มม. (กว้างxสูงxลึก)
√ ขนาดผ้าพันแขน: เส้นรอบวงแขน 22-32 ซม.
√ วัสดุผ้าพันแขน: ไนล่อน และ โพลีเอสเตอร์
√ สิ่งที่บรรจุในกล่องผลิตภัณฑ์: เครื่องวัดความดันโลหิต ผ้าพันแขน คู่มือการใช้งาน แบตเตอรี่ 1 ชุด และกระเป๋าเก็บอุปกรณ์
√ รับประกัน 5 ปี
ทำไมต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิต?
“ภาวะ ความดันโลหิตสูง” มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล หรือ การตรวจด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง
การตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูง และรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้น สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตาได้ บุคคลทั่วไปควรตรวจความดันโลหิตเป็นประจำเมื่อมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ความถี่ในการตรวจวัดความดันที่เหมาะสมตามช่วงอายุ มีดังนี้
– ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจความดันโลหิต 1 ครั้งต่อปี
– ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ความดันโลหิตสูง เช่น มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน มีภาวะอ้วน และผู้ที่มีความดันโลหิตในระดับปกติถึงระดับสูงอยู่ที่ 130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท ควรตรวจวัดความดันโลหิต 1 ครั้งต่อปี
– ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18-39 ปีที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอทที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นใด ควรได้รับการตรวจความดันโลหิตทุก 3-5 ปี
คลิก! เครื่องวัดความดัน Omron 8712
คลิก! เครื่องวัดความดัน Omron 7121
หลักการเลือกซื้อ เครื่องวัดค่าความดันโลหิต มาใช้งานเอง
ภาวะความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล หรือ การตรวจด้วย เครื่องวัดความดันโลหิต ด้วยตนเอง
“การวัดค่าความดันโลหิตเป็นประจำจะช่วยตรวจเช็คสภาพร่างกายและแจ้งเตือนได้เมื่อร่างกายมีความผิดปกติ ซึ่งคุณนั้นสามารถทำเองได้ที่บ้าน แต่สิ่งสำคัญคือ การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตที่ได้คุณภาพ ซึ่งเรามีข้อแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการเลือกซื้อมาฝาก” ดังนี้
√ เลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต แบบอัตโนมัติหรือแบบดิจิตอล เนื่องจากเราไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นอาจมีความรู้หรือทักษะไม่มากพอในการใช้งานเครื่องวัดความดันแบบปรอทได้ เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องและใช้งานได้ง่าย จึงควรเลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต แบบอัตโนมัติจะดีที่สุด โดยเครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัตินั้นจะแบ่งออกเป็นเครื่องวัดความดันที่ต้นแขน ซึ่งจะได้ค่าความดันโลหิตที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด แต่จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ไม่ค่อยสะดวกต่อการพกพา และเครื่องวัดความดันที่ข้อมือ เป็นเครื่องวัดที่ใช้งานสะดวกเพราะมีระบบสูบลมและคลายลมอัตโนมัติ ใช้งานง่าย มีขนาดกะทัดรัด สามารถพกพาได้สะดวก แต่เวลาที่ทำการวัดก็ต้องวางข้อมือให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับหัวใจเพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
√ เลือกใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีแรงดันไฟต่อเนื่อง สม่ำเสมอ มีความเสถียร เพื่อให้ได้ค่าความดันโลหิตที่เที่ยงตรง ไม่คลาดเคลื่อน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อตัวผู้วัดได้ ดังนั้นทางที่ดีให้เลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต ที่ใช้ถ่านไฟที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างถ่านอัลคาไลน์ 5 โวลต์ดีกว่าการเลือกใช้ถ่านราคาถูกทั่ว ๆ ไปซึ่งอาจมีกำลังไฟไม่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามหากมีการใช้งานอยู่บ่อย ๆ เพื่อความมั่นใจอาจเลือกเป็นแบบที่มีสายอะแดปเตอร์ให้ชาร์จไฟไปเลยก็ได้
√ เลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน เพื่อรับประกันคุณภาพของเครื่องวัดความดันนั้น ๆ โดยให้มองหาสัญลักษณ์ CE (European Conformity: CE) หรือสัญลักษณ์ UL (Underwriters’ Laboratories: UL) เหล่านี้คือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเครื่องมือวัดความดันโลหิตนั้น ๆ ได้รับการออกแบบและมีการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อบังคับอุตสาหกรรมสหภาพยุโรปนั่นเอง หรือจะมองหาเครื่องหมาย มอก. ตามมาตรฐานของประเทศไทยก็ได้เช่นกัน
ค่าที่ปรากฏบนหน้าจอบอกอะไรบ้าง?
ค่าระดับความดันโลหิตที่ได้มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) โดยจะแสดงเป็น 2 ตัวเลข คือ
√ ตัวเลขบน เรียกว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure) เป็นความดันสูงสุด ในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัวและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
√ ตัวเลขล่าง เรียกว่า ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (Diastolic Blood Pressure) เป็นความดันต่ำสุด ในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจคลายตัวระหว่างพักจากการสูบฉีดเลือด
ทั้งนี้ ค่าความดันโลหิตทั้ง 2 ตัวเลขต่างมีความสำคัญ หากตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งที่สูงเกินไปอาจหมายถึงการมีภาวะ ความดันโลหิตสูง แต่โดยทั่วไปแพทย์จะให้ความสนใจกับตัวเลขบนมากกว่า เพราะการมีค่าความดันซิสโตลิกสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ค่าความดันตัวบนนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ เนื่องจากความฝืดและพองตัวของหลอดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการสะสมของคราบหินปูนเป็นเวลานาน และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่สูงขึ้น
ผลการวัดความดันโลหิต บ่งบอกสุขภาพคุณ…
√ ระยะเริ่มต้นภาวะ ความดันโลหิตสูง ผู้ที่อยู่ในระยะนี้จะมีความดันโลหิตอยู่ที่ประมาณตั้งแต่ 120-139 และ/หรือ 80-89 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ต่อไป
√ ภาวะความดันโลหิตสูงระดับ 1 ความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140-159 และ/หรือ 90-99 มิลลิเมตรปรอท แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในระยะนี้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาจต้องรับประทานยาปรับค่าความดันโลหิต
√ ภาวะความดันโลหิตสูงระดับ 2 ความดันโลหิตอยู่ในช่วง 160-179 และ/หรือ 100-109 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยควรได้รับยาลดความดันโลหิตร่วมกับการควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตสูง
√ ความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤต ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยจะมีระดับความดันโลหิตที่ 180/110 ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก ปวดหลัง รู้สึกอ่อนแรงหรือชาตามร่างกาย มีความผิดปกติด้านการมองเห็น หรือพูดคุยลำบาก แต่หากไม่มีอาการใด ๆ ดังกล่าว ให้รอประมาณ 5 นาที และวัดความดันใหม่อีกครั้ง หากยังได้ค่าความดันสูงเท่าเดิม ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที
เอกสารอ้างอิง:
https://www.pobpad.com/วัดความดันโลหิตอย่างไร
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/174